วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ERP หมายถึงอะไร?

     คำว่า ERP ย่อมาจาก  Enterprise  Resource  Planning ค่ะ ความหมายคือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้
ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร  เพราะฉะนั้น ระบบ ERP จึงหมายถึง  เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กรนั่นเอง  สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกัน ให้เป็นระบบที่สัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกันอย่าง real time

      ERP เป็นโซลูชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรอย่างแท้จริง โดยหลังจากนำมาใช้ก็พบว่าผลกำไรของบริษัทสูงขึ้น จากการที่สามารถบริหารจัดการคลังสินค้าและ ติดตามผลการผลิตได้แบบเรียวไทม์ (Real Time) ช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทฯได้ข้อมูลที่ถูกต้องและ ผู้บริหารมีข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในอดีตการประชุมฝ่าย เราต้องปวดหัวกับข้อมูลในไฟล์ Excel ที่แต่ละฝ่ายต่างจัดทำขึ้นใช้กันเอง ทั้งที่มีแหล่งข้อมูลเดียวกัน แต่กลับทำมาไม่เหมือนกัน จึงไม่รู้ว่าข้อมูลฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิด แต่ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้หายไปเพราะข้อมูลต่างๆ นั้นแต่ละฝ่ายจะพิมพ์จากซอฟต์แวร์

สรุปบทที่ 7


            สรุป
          การตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานความมั่นคง และพัฒนาการขององค์การเนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ตลอดจนต้องตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกองค์การ ซึ่งเราจะเห็นความสำคัญได้จากงานวิจัยด้านการจัดการที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา
           

แบบฝึกหัดบทที่ 7

1.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ การจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อการดำเนินงานเพื่อความมั่นคงและพัฒนาการขององค์การเนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่แล้วอย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน
2.เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง?
ตอบ 3 ระดับ
        1.การตัดสินใจระดับกลยุทธ์(Strategic Decision Makimg)
        2.การตัดสินใจระดับยุทธวิธี(Tacticai Decision Making)
        3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ(Operational Decision Making)
3.เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?
ตอบ 3 ขั้นตอน
         1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล(Intelligence)
         2. การออกแบบ(Design)
          3. การคัดเลือก(Choice)
4.การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ 3 ประเภท
         1.การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง(Struturd Descision)
          2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructred Decision)
          3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงการ(Semistured decision)
5.การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ การตัดสินใจความไม่เเน่นอนเป็นการตัดสินใจที่ใช้ความคาดเดาเอาโดยไม่เเน่นอนส่วยการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างก็เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เกิดเป็นประจำ ไม่อาจจะวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้าและมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย
6.จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ?
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเราสามารถสรุปได้ว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่มการที่ถูกนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จ
7.DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ1. การวิเคราะห์ระบบเป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนาDSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา
        2.การออกแบบระบบDSS จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงละพัฒนาเรื่อยๆ
         3. การนำไปใช้DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารจัดการโดยทั่วไปที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน
8. การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร?
ตอบ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปมีบทบาทต่อการดำเนินงานขององค์การทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน โดยที่แต่ละองค์การนำระบบสารสนเทศเข้าไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานในรูปแบบต่างๆ เช่นการการงานเอกสาร บริหารการผลิต
9. ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร?
ตอบ 1 ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจ
         2. ถูกพัฒนาให้สามารถจัดการข้อมูล เพื่อสนับการตัดสินใจ
         3. ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้
          4. มีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
          5. ผู้ใช้มีส่วนร่วมสำคัญในการออกแบบและการพัฒนา DSS
10.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจส่วนประโยชน์ของ GDSS ช่วยในการเตรียมการความพร้อมในการประชุมและมีการจัดการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุมสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตอบคำถามต่อไปนี้

ตอบคำถามต่อไปนี้

1.            ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์การ จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ใช้ประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ 4P เพื่อทำการวางแผนด้านการตลาดให้ประสบผลสำเร็จโดยใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยตัดสินใจวางแผนซึ่งในปัจจุบันธุรกิจแทบทุกธุรกิจต่างก็นำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในองค์กรเกือบทุกองค์กรเลยก็ว่าได้
2. ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้  อธิบายเหตุผล
ตอบ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นชุดคำสั่งสามารถลอกเลียนแบบมนุษย์ได้

3. ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศจึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ เพราะระบบสารสนเทศสามารถช่วยให้ผู้บริหารทุกบริษัทตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้ง่ายขึ้นและสะดวกรวดเร็วเกิดความผิดผลาดน้อยทำให้เกิดความสำเร็จสูงในการประกอบธุรกิจ
4. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัทการบินไทยซึ่งได้นำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในงานธุรกิจเช่นการจองตั๋วหรือการติดต่อสื่อสารกันทางระบบสารสนเทศ

5. ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ตอบ นำมาใช้เพราะการใช้ระบบสารสนเทศช่วยให้การตัดสินใจดำเนินเป็นการไปอย่างน่าเชื่อถือและทำให้เกิดการผิดพลาดน้อยในการตัดสินใจทำให้เกิดความทันสมัยผู้บริหารสามารถวางแผนล่วงหน้าไว้ได้เพราะมีระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทกับผู้บริหารในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้ระบบ DSS

การประยุกต์ใช้ระบบ DSS
ตัวอย่างที่ 1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน
                                บริษัทไฟร์สโตน (Firestone Rubber & Tire) ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์ขาย
                                ด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ของบริษัทไฟร์สโตน สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด และปริมาณการขาย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ
คำถาม
1.ผู้ใช้ระบบคือใคร
ตอบ ผู้บริหารของบริษัทไฟร์สโตน

2.ท่านคิดว่าตัวแปรใดบ้างที่ควรอยู่ในโมเดลพยากรณ์การขาย
ตอบ  - ตัวแปรภายนอก ได้แก่ จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ข้อมูลคู่แข่งขัน อัตราดอกเบี้ย จำนวนผู้บริโภค ราคา วัตถุดิบ เป็นต้น
               -ตัวแปรภายใน ได้แก่ ข้อมูลในการผลิต การขาย ข้อมูลการเงิน และประมาณการขาย เป็นต้น


ตัวอย่างที่ 2: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า

บริษัทซาน ไมเกล (San Miguel Corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า (Production Load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการส่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี
คำถาม
1.จากตัวอย่างข้างต้นไม่มีการกล่าวถึงการใช้โมเดล ท่านคิดว่าระบบบริหารการส่งสินค้า
น่าจะจัดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่

ตอบ  เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะระบบที่บริษัทซาน ไมเกล ใช้อยู่เป็นระบบที่ใช้การคำนวณความสมดุลต่างๆ รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะผลิต และช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสม

2. ข้อมูลใดที่ควรต้องนำมาประกอบการตัดสินใจว่าจะส่งสินค้าแต่ละชนิดไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าต่างๆ เมื่อใด และจำนวนเท่าไร
ตอบ ระบบสามารถกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี

สรุปบทที่ 6

          สรุป
       ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ คอมพิวเตอร์ สถาณี ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสาร และชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสารซึ่งระบบเครือข่ายแยกตามระยะทางการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมต่ออุปกรณ์
      รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มี 4 แบบคือโทโปโลยีแบบบัส โทโปโลยีแบบวงแหวน โทโปโลยีแบบดาว และโทโปโลยีแบบผสม
      ปัจจุบันทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะซึ่งคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ส่วนระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม

แบบฝึกหัดบทที่ 6

1.ระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในอนาคตโดยเฉพาะการการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับโครงสร้างซึ่งระบบสารสนเทศเปรียบเสมือนระบบปราสาทและสมองที่ควบคุมการทำงานภายใน รับสัมพันธ์และตอบสนองต่อภายนอกองค์การได้
2.ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง?
ตอบ 4 ประเภท
         1.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่(Locai Area Network; Lan)
         2.ระบบเครือข่ายเฉพาะเมือง(Metropolitan Area Network Man)
         3.ระบบเครือข่ายครอบคลุม(Wide Area Network Wan)
         4.ระบบเครือข่ายระหว่างประทศ(International Network)
3.ระบบเครือข่ายเฉาพะพื้นที่(LAN)และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่(WAN)มีความแตกต่างกันอย่างไร?
ตอบ ระบบเครือข่ายLAN เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในระยะเข้าใกล้ด้วยกัน เช่นภายในหน่วยงานส่วนระบบ WAN เป็นระบบเครือข่ายสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมืองโดยที่WAN เหมาะกับธุรกิจที่ดำเนินครอบคลุมหลายพื้นที่โดยติดต่อมักใช้คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียมเข้าช่วยเพื่อให้การสื่อสารจ้อมูลมีประสิทธิภาพ
4.จงเปรียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสารเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆเพื่อที่จะให้ช่องทางส่งสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันปัจจุบันการติดต่อการสื่อสารมีอยู่หลายลักษณะซึ่งคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันโดยที่เราสามารถแบ่งช่องทางการติดต่อสื่อสารออกเป็นสองช่องทางคือ1. การติดต่อสื่อแบบมีสาย 2.ระบบสื่อสารแบบไร้สาย
5.รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบอะไรบ้าง?              
ตอบ 4 แบบ
         1.โทโปโลยีแบบบัส(Topology)
         2.โทโปโลยีแบบวงแหวน(Ring Topology)
         3.โทโปโลยีแบบดาวStar(Topology)
         4.โทโปโลยีแบบผสม(Hybirdge Topology)
6.ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง?
ตอบ 1. การติดต่อสื่อสารแบบมีสาย 2.ระบบสื่อสารแบบไร้สาย
7.สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ประกอบด้วยเส้นลวด 2 เส้นพันกันเป็นเกลียวโดยมีฉนวนห่อหุ้มเส้นลวดเกลียวคู่แต่ละเส้นไว้ส่วนสายโคแอกเซียลมีลักษณะเป็นสายทรงกระบอกที่ทำด้วยทองแดง และมีลวดตัวนำอยู่ตรงกลางระหว่างลวดตัวนำและทองเเดงส่วนสายใยแก้วมีลักษณะเป็นเส้นบางๆคล้ายเส้นใยแก้วโดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสัญาณแสงและส่งผ่านไปตามเส้นใยด้วยความเร็วแสงจึงทำให้เส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว
8.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญาณแบบอนาล็อกกับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ สัญาณแบบแอนะล็อกจะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องระดับของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำอย่างต่อเนื่องที่ทุกๆค่าเปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมายส่วนสัญญาณแบบดิจิตอลจะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียงสองค่าคือสัญาณระดับสูงสุดและต่ำสุดดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบแอนะล็อกเนื่องจากมีการใช้งานค่า 2 ค่า เพื่อนำมาตีความหมาย

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเปรียบเทียบ TPS กับระบบ MIS และ DSS

1.ให้เปรียบเทียบระบบ TPS กับระบบ  MIS และ DSS ตามหัวข้อต่อไปนี้


หัวข้อ


TPS

MIS

DSS

1.วัตถุประสงค์หลัก

-เพื่อใช้งานสารสนเทศ
-การปฏิบัติการ
การตรวจสอบ
การตัดสินใจนำไปใช้

2.จุดเด่นของระบบ

-ช่วยให้การปฏิบัติงานประจำวันสะดวก
-ช่วยการในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหาร
-เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา


3.ผู้ใช้ระบบ

-บุคคลในองค์กร
-ผู้บริหาร
-ผู้บริหาร

4.ชนิดของปัญหา

-การทำงานล้าช้า
-การทำงานซ้ำๆ
-การรวบรวม
-การประมวลผล
-การจัดระบบ
-การตัดสินใจ
-การนำไปใช้


5.แหล่งข้อมูล


www.siriktdam.egat.com

www.siriktdam.egat.com

www.siriktdam.egat.com


สรุปบทที่ 5

สรุป
      ปัจจุบันข่างสารและข้อมูลนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่ถูกนำมาใช้ช่วยสนับสนุนผู้บริหารในการบริหารและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ของธุรกิจ การได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในเวลาที่ต้องการ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ในทางตรงข้าม ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินงานขององค์การได้
        เราสามารถแบ่งการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 แบบ คือ การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ละการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ



แบบฝึกหัดบทที่ 5

1.เราสารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่เเบบ อะไรบ้าง?
ตอบ 2 แบบ
         1. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequentiai Fiie Organization)
         2. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random File Organization)
2. จงอธิบายความหมายตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตรงข้อมูลแบบสุ่มมีข้อดีดังต่อไปนี้
-การเข้าถึงข้อมูลสะดวกรวดเร็ว
-สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
-มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน
ส่วนข้อจำกัดมีดังนี้
-ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
-การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียบจะทำได้ลำบาก
-มีค่าใช้จ่ายสูง
3.ฐานข้อมูลคืออะไรและเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ การเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อผู้ใช้สามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ 3 ประเภท
         1.แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น(Hierarchicar Data Model)
         2.แบบจำลองการจัดการข้อมูลเครือข่าย(Network Data Model)
         3.แบบจำลองการจัดการข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Modrl)
5. จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท?
ตอบ 1.แบบจำลองการจัดการข้อมูลเชิงลำดับขั้นแสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลายโดยที่จัดการข้อมูลเชิงลำดับขั้น
         2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่ายเป็นแบบจำลองโครงสร้างที่แดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกว่าแบจำลองเชิงลำดับขั้น
          3. แบบจำลองการจัดการข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปตาราง 2มิติ
6. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
ตอบ ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลคัดเลือกข้อมูลส่วนประกอบหลักที่สำคัญมีอยู่3 ส่วนคือ
1.ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล
2.ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล
3.พจนานุกรมข้อมูล
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ เป็นเครื่องมือที่จัดเรียงความหมายและอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาตค
8. นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอำไรบ้าง?
ตอบ 1.ประสานงานกับผู้จัดการแฟ้มข้อมูล
         2. ควบคุมความสมบูรณ์แน่นอนของข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
         3.ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล
         4. ดูแลรักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
         5. ควบคุมความต่อเนื่องและลำดับการทำงาน
9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ(Cio)และ (Cio)มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ 1.กำหนดจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
         2. พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
         3.จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล
         4. ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
          5.ประสานงานกับผู้ใช้
10. จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ ปัจจุบันเนื่องจากความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยีทำให้ระบบฐานข้อมูลแบบศูนย์รวมได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ