วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 14

               สรุป
           การดำเนินชีวิตในสังคมสารสนเทศจะมีการพัฒนา  และนำเทคโนโลยีระดับสูงมาสนับสนุนการทำงานและการดำรงชีวิตของมนุษย์  โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้จะพัฒนารวดเร็วกว่าสมัยอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมาก  ข้อมูลและข่าวสารจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วและอิสระ  พรมแดนทางการเมืองะลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจการค้าที่ขยายตัวสู่ระดับโลกในที่สุด  ประชาชนจะทีความเป็นอิสระในการรับรู้ข่าวสานและแสดงความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น   ส่งผลให้ธุรกิจบริการขยายตัวเพิ่มเพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างของลูกค้า   ในขณะที่องค์การต่างๆ จะมีการปรับโครงสร้างและขั้นตอนการทำงาน  โดยที่หลายหน่วยงานมีการลดขนาดลง  บางหน่วยงานศึกษาถึงการปรับตัวให้มีขนาดที่เหมาะสม  หรือแม้กระทั่งการรื้อปรับระบบ  เพื่อให้สามารถดำเนินงานแข่งขันกับธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว
          ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม  ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยให้หัวหน้างาน  หรือหน่วยงานสารสนเทศดูแลรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบาย  และการใช้เทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวประกอบกับการกระจายตัวของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในหน่วยงานต่างๆทำให้สมาชิกในองค์การมีความคุ้นเคย  และเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นจึงต้องมีการกำหนดทิศทางการจัดการเทคโนโลยีร่วมกัน  ซึ่งต้องได้รับการเริ่มต้นและการส่งเสริมจากผู้บริหารระดับสูง  ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่มีอนาคตขององค์การ  โดยติดตามข่างสารข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี   นอกจากนี้การจัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศขององค์การจากบุคคลหลายกลุ่ม  จะช่วยให้การกำหนดนโยบายด้านสารสนเทศขององค์การมีความชัดเจน  แน่นอน  และถูกต้องขึ้น



แบบฝึกหัดบทที่ 14

1.จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
ตำตอบ  - องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน       และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
             -  มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
             - ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง

2.เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร?
คำตอบ      IT   ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างองค์กร   ผู้ที่มีอำนาจ  ตลอดจนรายละเอียดของงาน   เมื่อ
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานและธุรกิจขององค์กร  หลาย ๆ องค์กรมีการปรับโครงสร้างเพื่อลดระดับชั้นขององค์กรลง    เพื่อให้การตัดสินใจและการบริหารงานมีความรวดเร็วขึ้น  โดยภาพรวมแล้ว  IT  ส่งผลกระทบต่อองค์กรในเรื่องต่อไปนี้

3.ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร?
คำตอบ  1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
              2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน  โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
               3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้    เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
          เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ

4.เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง?
คำตอบ  1. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 
2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น

5.ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น
6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต
7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ

5.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร?
คำตอบ   1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ    และส่งผลให้กระบวนการในการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป     ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสาร และสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมาก และรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)   ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ
          2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์    โดยเทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
             3. เครื่องมือในการทำงาน เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ     เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น     หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงาน และวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ ลง แต่ยังคงรักษา หรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น  ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินขององค์การมากขึ้นในอนาคต
              4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Softwareอีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของงานได้อย่างมาก      และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย        ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์การ
            5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพจากทั้งภายในองค์การหรือภายนอกองค์การ โดยไม่จำกัดขอบเขตว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใด ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลกคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป

6.เทคโนโลยี RISC   มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร?
คำตอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล    ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์

7.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
คำตอบ    กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย

การใช้งาน

       มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดเค้าร่าง (schema) ที่ต้องการสำหรับการอธิบายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการบริการ โดยให้สารสนเทศเกี่ยวกับการบ่งชี้ ขอบเขต คุณภาพ เค้าร่าง เชิงพื้นที่และเชิงเวลา การอ้างอิงเชิงพื้นที่ การเผยแพร่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงเลข

8.เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ?
คำตอบ     ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

9.ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
คำตอบ สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือฟสังคม เปิดที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและเสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
            ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ความรู้ ซึ่งหมายถึง สารสนเทศผนวกกับทักษะประสบการณ์ของบุคลากร ความรู้จะเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์การ ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในองค์การ ในการบริหารความสำเร็จจำเป็นต้องขยายผลจากการทำให้วิสัยทัศน์มีความชัดเจนขึ้น  ซึ่งจะเพิ่มความกระตือรือร้นขององค์กรในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และเพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมกันขององค์การ ประสิทธิภาพ ประสิทธิ ผลขององค์การ ขึ้นกับความสามารถของบุคลากรในองค์การ ในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน ภายในองค์การ เราต้องสร้างตัวเร่งในขับเคลื่อนให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เอื้ออำนวย ดังนั้นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์การให้ก้าวไปข้างหน้า สำหรับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับเราท่านลูกพ่อขุนทุกคน

10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำตอบ 1.ความเป็นส่วนตัง (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมากโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆหากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก
2.ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมุลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
3.ความเป็นเจ้าของ(Property)เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่างๆสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่งกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่นๆ เช่น บ้าน ถยนต์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก
4.การเข้าถึงข้อมูล(Access)ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งานและสามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่างบริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบันเจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผุ้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น

สรุปบทที่ 13

           สรุป
       ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์การมีความได้  เปรียบคู่แข่ง  ซึ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  หมายถึงเป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น การซื้อขายสินค้า  ข้อมูลและบริการ  การโฆษณาผ่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์  หรือการโอนเงินทางอิเล็กทราอนิกส์เป็นต้น
         การจำแนกประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  สามารถจำแนกได้ 4 ลักษณะนี้ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B),ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C)ธุรกิจกับรัฐบาล (B2G )และผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C ) ส่วนรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบดังนี้ รายการสินค้าออนไลน์  การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์  การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประกาศซื้อ-ขายสินค้า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และตลลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
 การทำการค้าบนโลกอินเตอร์เน็ตก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการค้าขายทั่วๆไปทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจาการดำเนินธุรกิจทั่วไป  ดังต่อไปนี้
       การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
        การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
         การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่งโมง
          การควบคุมและปฏิสัมพันธืได้ด้วยตนเอง
           การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
          การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
           โครงข่ายเศษฐกิจ
         การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
   การที่องค์การจะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน  เพื่อช่วยสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจนั้น  จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสีย  ทั้งนี้เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เช่น  สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก  สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น  ส่วนข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เช่น  ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน  ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูง  หรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า เป็นต้น
    ส่วนหลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหลักการตลาดทั่วไป ซึ่งเรียกว่า หลักการตลาด 6Psประกอบด้วย
ผลิตภัณฑ์  ราคา  ช่องทางการจัดจำหน่าย  การส่งเสริมการขาย  การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการแบบเจาะจง  อีกทั้งยังพบปัญหา  อุปสรรค  และข้อจำกัดต่างๆในการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทราอนิกส์  ซึ่งพบว่า  รัฐบาลควรมีมาตรการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรีบด่วน  เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นใจ  นอกจากนี้ต้องมีกฎหมายรัดกุมและต้องส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศ   รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านสารสนเทศด้วย







แบบฝึกหัดบทที่ 13

1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คำตอบ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ
2.เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง
คำตอบ  เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยทรงเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ

3.ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
คำตอบ  4ประเภท      
         1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business  to  Business; B2B)
        2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business  to  Consumer; B2C)
        3.ธุรกิจกับรัฐบาล (Business  to  Government;B2G)
       4.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer  to  Consumer;C2C).
               
  4.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
คำตอบ  1.การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
         2.การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
         3.การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
        4.การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
        5.การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
         6.การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
         7.โครงข่ายเศรษฐกิจ
         8.การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี

5.หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง  จงอธิบาย
คำตอบ   1.ผลิตภัณฑ์  สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน  และประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงตรายี่ห้อสินค้า
         2.ราคา  การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้าดังนั้นควรตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาดและผู้บริโภค
         3.ช่องทางการจัดจำหน่าย  การหาทำเลการค้าที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินใจได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่
        4.การส่งเสริมการขาย  กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อด้วยการลด  แลก  แจก  และถมสินค้าเป็นต้น
       5.การรักษาความเป็นส่วนตัว   คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์  หมายเลขบัตรเครดิต  หรืออีเมล  ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเว็บไซต์ ดังนั้นผู้ดูแลเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้
      6.การให้บริการแบบเจาะจง  เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้  และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้    
 
6.จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คำตอบ 1.สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้สามารถกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
          2.สามารถจัดหาสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งอื่นๆได้โดยตรงและรวดเร็ว
          3.สามรถสร้างผลประกอบการที่เป็นกำไรเพิ่มมากขึ้น

7.จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คำตอบ 1.มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย
        2.ช่องทางในการติดต่อสื่อสารอาจยังไม่เหมาะสมเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน
       3.ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

8.ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
คำตอบ ปัญหาเรื่องของความพร้อมของผู้ประกอบการ
           -ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม
           -ปัญหาในเรื่องของการลาด
           -ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ
          -ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัย
           -ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจ
          -ค่าบริการใช้อินเตอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพง
          -กลุ่มเป้าหมายทางด้านการค้าหรือประชาชนนั้นยังขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
          -ผู้ประกอบการยังกังวลกับกฎหมายที่รับรองการประกอบการ

ความหมาย
Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
         อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
         E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ
  • การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
  • การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
  • การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
  • บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย
บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce
        เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
        E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้
บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย