วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 4

          สรุป

          การพัฒนาระบสารสนเทศ เป็นงานใหญ่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การ และระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยในการพัฒนาระบบประสบความสำเร็จคือผู้ใช้ระบบต้องให้ข้อมุลแก่ทีใงนพัฒนาระบบในด้านต่างๆ คือสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการผู้ใช้ต้องการให้ระบบมีความสามารถอย่างไร และปัญหาหรือความไม่พอใจในระบบปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ระบบปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง ระบบปัจจุบันมีขั้นตอนในการทำงานทียุ่งยากและซับซ้อน และระบบปัจจุบันมีการทำงานที่ผิดพลาดบ่อยคั้ง

แบบฝึกหัดบทที่ 4

1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร
    ตอบ ผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับระบบสารสนเทศ ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง เช่น จัดเก็บ ปรับปรุง ประมวลผลข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้งาน เป็นต้น
2. ปัจจัยที่ช่วยในการพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ผู้ใช้ระบบ 2. การวางแผน 3. การทดสอบ 4. การจัดเก็ยเอกสาร 5. การเตรียมความพร้อม
             6. การตรวจสอบและประเมินผล 7. การบำรุงรักษา 8. อนาคต
3. หน้าที่ที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
     ตอบ 1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่างๆ
              2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิม
              3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงาน
              4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่
              5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประดยชน์ที่จะได้รับ
              6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล
              7. ทำเอกสานประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียด
              8. กำหนดลักษณะของเครือข่าย
              9. สร้างแบบจำลองของดปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
             10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ
             11. จัดทำแบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่
             12. บำรุงรักษาประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ
             13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบ
4. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง  เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
     ตอบ 1.คณะกรรมการดำเนินงาน
              2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
              3. ผู้จัดการโครงการ
              4. นักวิเคราะห์ระบบ
              5. นักเขียนโปรแกรม
              6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
              7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธีอะไรบ้าง
    ตอบ 4 วิธี
             1. วิธีเฉพาะเจาะจง
             2. วิธีสร้างฐานข้อมุล
             3. วิธีจากล่างขึ้นบน
             4. วิธีจากบนลงล่าง
6. การพัฒนาระบบสานเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
    ตอบ 5 ขั้นตอน
            1.การสำรวจเบื้องต้น
            2. การวิเคราะห์ความต้องการ
            3. การออกแบบระบบ
            4. การจัดหาอุปกรณ์ระบบ
            5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
    ตอบ เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้ใช้ระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
8. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
    ตอบ เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายระเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพะในประเด็นที่เกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้
9. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
    ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของระบบสารสนเทศ ได้แก่การแสดงผลลัพธ์ การป้อนข้อมูล กระบวนการเก็บข้อมูล
10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
      ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนการบริการต่างๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย
11. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบในการบำรุงรักษา
      ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบใหม่ โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบทีได้ออกแบบไว้หรือไม่
12. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ 4รูปแบบ
               1. รูปแบบน้ำตก
               2. รูปแบบวิวัฒนาการ
               3. รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
               4. รูปแบบเกลียว
13.การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ 4 ระบบ
              1. การปรับเปลี่ยนโดยตรง เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์
              2. การปรับเปลี่ยนแบบขนาน เป็นการดำเนินงานโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบ     ใหม่พร้อมๆกัน
              3. การปรับเปลี่ยนระบบแบบเป็นระยะ เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านใดด้านหนึ่ง
              4. การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง  เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 3

สรุป
        ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจหรือที่เรียกว่า TPS หมาถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การ
         ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการหรือที่เรียกว่า MRS หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึงระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียม
สารสนเทศ      สำหรับผู้บริหาร เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น
ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมี   ลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi – strutur) และไม่มีโครง
สร้าง ( Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แบบฝึกหักบบที่ 3

1จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.1    จงอธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
ตอบ ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction  Processing Systme) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึงสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อย
1.2    หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การทำบัญชี ( Bookeeping)
 2. การออกเอกสาร (Document Issuance)
        3.  การทำรายงานควบคุม (Control Reporting)
1.3 จงอธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงานสำหรับการจัด MRS อย่างไร
ตอบ   TPS จะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานประจำวันขององค์การ ซึ่งมีลักษณะร่วมที่ต้องปฏิบัติงานตามรอบระยะเวลาหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้ โดยที่ผู้ใช้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้การทำงานสะดวกขึ้นส่วน MRS จะรวบรวมและประมวลผลข้อมูล แล้วจัดทำผลลัพธ์ในรูปรายงานเสนอต่อผู้จัดการโดยจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงหรือจัดทำรายงานตามความต้องการ
2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
2.1 จงอธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
ตอบ ผู้จัดการเป็นบุคคลสำคัญของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากผู้จัดการจะมีหน้าที่ในการวางแผนจัดระบบงานและควบคุมให้การบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการโดยผู้จัดการต้องตัดสินใจในปัญหาหรือทางเลือกในการดำเนินงานของหน่วยงานแต่ผู้จัดการส่วนใหญ่จะมีเวลาจำกัดในการตัดสินใจเพื่อเป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวมและประมวลผลข้อมูลสำหรับจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อผู้จัดการ
2.2 รายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 4 ประเภท
        1.รายงานที่ออกตามตาราง (Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน
       2.รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report)  เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น
       3.รายงานที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร
      4.รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร
2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. สามารถที่จะสนับสนุนการตัดสินใจทั้งที่เป็นแบบโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง
        2. ผลิตเอกสารหรือรายงานตามตารางที่กำหนด
        3. ถูกผลิตออกมาในรูปแบบที่คงที่
        4. สารสนเทศที่บรรจุอยู่ในรายงานหรือเอกสาร
        5. บ่อยครั้งที่รายงานหรือเอกสารจะถูกผลิตในรูปแบบกระดาษ
2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง? จงอธิบาย
ตอบ  1. ตรงประเด็น (Relevance)
         2. ความถูกต้อง (Accuracy)
          3. ถูกเวลา (Timeliness)
        4. สามารถพิสูจน์ได้ (Verifabillty)
3.  จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
ตอบ DSS  หมายถึงระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi – strutur) และไม่มีดครงสร้าง ( Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4.จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
4.1  จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
ตอบ  OIS หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน
4.2อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบจัดการเอกสารถูกจัดขึ้นเพื่อให้มีหน้าที่แลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ภายในองค์การ โดยระบบจัดการเอกสารจะประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญ  เช่น การประมวลผลคำสั่ง (Word Processing)
4.3อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้ข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญ เช่น โทรสาร ไปรษณีย์เสียง
4.4อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ เป็นระบบเชื่อมดยงบุคคลตั้งแต่ 2 คน ซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน เช่น การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
4.5อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นหลายประเภท เช่น ระบบจัดระเบียบงาน การนำเสนอประกอบภาพ

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คลื่นยุคที่1-4

คลื่นลูกที่ 1 : ยุคเกษตรกรรม  : Agricultural :อยู่ดีมีสุขเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
คลื่นลูกที่ 2 : ยุคอุตสาหกรรม  : Industrial   :แก่งแย่งชิงดี อิจฉา เอาตัวรอด
คลื่นลูกที่ 3 : ยุคข้อมูลข่าวสาร : Information Technology :ยึดติดถือดี ถ้าใช้ในทางที่ดีสร้างสรรค์ (วิวัฒน์) ถ้าใช้ในทางที่ไม่ดีทำลาย (วิบัติ)
คลื่นลูกที่ 4: ยุคเครือข่ายมวลชน : Human Network :ใครสามารถสร้างพลังมวลชนได้มากคนนั้นชนะ
คลื่นลูกที่ 1.ยุคเกษตรกรรม

อาชีพที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นรับราชการ ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพยาเลี้ยง"
คลื่นลูกที่ 2.ยุคอุตสาหกรรม

- เริ่มจากการที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องจักร   เครื่องกลต่างๆขึ้นมาได้
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆก็ถูกผลิตตามมา
- ยุคนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
การเปลี่ยนแปลงทำให้อาชีพเก่าได้รับผลกระทบ
อาชีพเกษตรกร    คนก็เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นมากขึ้น
อาชีพช่าง    ดีขึ้น
อาชีพแพทย์    ดีขึ้น
อาชีพราชการ    ถูกลดความสำคัญลง
เศรษฐีที่เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม
คุณ ธนินทร์ เจียรวนนท์  เจ้าพ่อ CP ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมจนร่ำรวย
คุณ เจริญ  สิริวัฒนภักดี  เจ้าพ่อเบียร์ช้าง ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมจนร่ำรวยเหมือนกัน
ข้อสังเกตุ      คนที่ประสบความสำเร็จ  คือคนที่รู้จักเลือกอาชีพได้สอดคล้องกับยุคสมัยนั้นๆ
คลื่นลูกที่ 3. ยุคสารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสาร

- ยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน
- ผู้คนทั่วโลกสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆได้พร้อมกัน
- เศรษฐกิจกระทบถึงกันหมดทั่วโลก
- อุปกรณ์สื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
- ยุคนี้คอมพิวเตอร์มีผลต่อการทำงานอย่างมาก
- งานไหนที่คอมพิวเตอร์ทำแทนคนได้ งานนั้นคนต้อง .....
- งานที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำแทนคนได้ คือ งานฝีมือ , งานที่ต้องใช้ EQ  ทำธุรกิจเอมสตาร์ ใช่ไหม ใช่แน่ๆเพราะเป็นงานที่ต้องใช้ EQ สูงมาก (แสดงว่างานนี้สอดคล้องกับยุคที่ 3)
เศรษฐีที่เกิดขึ้นในยุคนี้
บิลล์ เกตส์ เป็นมหาเศรษฐีจากการทำธุรกิจซอร์ฟแวร์
เศรษฐีของเมืองไทยที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ก็มาจากการทำธุรกิจสื่อสาร (คงไม่ต้องบอกว่าใคร)
คลื่นลูกที่ 4. ยุคเครือข่าย

- การแข่งขันเชิงธุรกิจจะรุนแรงจนแข่งกันเจ๊ง
- ธุรกิจขนาดเล็กที่มีอำนาจต่อรองน้อย จะถูกบีบจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่า วิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอดคือ สร้างพันธมิตร (รวมตัวกันเป็น เครือข่าย )
- เจ้าของกิจการที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันก็ต้องรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  สภาวะน้ำมันแพง  จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ต้องลดจำนวนพนักงานลงเรื่อยๆ
- คนที่อยู่ได้จะต้องเก่งจริงและต้องทำงานหนัก

- ในอนาคตรูปแบบการจ้างงานมีแนวโน้ม  ที่จะจ้างเป็นพนักงานชั่วคราว , ฟรีแลนซ์
- คนที่ทำงานกินเงินเดือนจะยิ่งรู้สึกถึง  ความไม่มั่นคงของชีวิต (เพราะต้องทำงานหนักเกินค่าตอบแทน , ค่าครองชีพสูงจนเงินเดือนไม่
  พอใช้ )
- คนที่ทำงานกินเงินเดือนจะถูกบีบให้ออกมาทำกิจการส่วนตัวโดยปริยาย  แต่กิจการส่วนตัวที่จะอยู่รอดได้ต้องใหญ่และต้องครบวงจร( ซึ่งคนส่วนใหญ่ทำไม่ได้ )
ดังนั้นงานที่จะสอดคล้องกับสภาพของยุคที่ 4 ก็คืองานประเภท
1. คนที่ มีความพร้อม เป็นผู้  ลงทุน (คนรวยอยู่แล้ว)
2. คนที่ ไม่อยากลงทุน เป็นผู้ ลงแรง ก็คือธุรกิจเครือข่าย (MLM)นั่นเอง
    ดังบทความจาก Wall Street Journal นิตยสารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอเมริกา ได้ทำนายไว้ว่า"ในอนาคต   75 % ของสินค้าและบริการทั้งหมดของโลกจะถูกขายผ่านกลไกของระบบ Network Marketing( การตลาดแบบเครือข่าย )"
  J. Paul Getty ได้เขียนไว้ในหนังสือ How To Get Rich  ว่า... กฎข้อแรกของความสำเร็จคือ
   คุณต้องทำธุรกิจเพื่อตัวเอง เพราะคุณจะไม่มีทางร่ำรวย จากการทำงานให้กับคนอื่น

เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้าเรายังไม่ได้สร้างเครือข่ายอะไรไว้เลยรีบๆนะครับเดี๋ยวจะตกยุค และถ้าวันนี้เราเองทำธุรกิจเครือข่ายอยู่มั่นใจเลยครับว่าเรามาถูกทางแล้ว รีบๆทำให้สำเร็จครับ จะได้เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้า

      บทสรุปก็คือการจะทำอาชีพอะไรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เน้นนะครับว่าชีวิต เราคงจะต้องดูจากตัวอย่างมหาเศรษฐีหลายๆท่านที่ทำอาชีพตามยุคสมัย หลายคนบอกว่าตัวเองอินเทรนด์ ก็อย่าให้ตกยุคนะครับ ทุกวันนี้เราเข้าสู่ยุคคลื่นลูกที่4 Wave4 ยุคแห่งเครือข่ายกันแล้ว
   แล้วมันเกี่ยวอะไรกับม็อบชาวนาเนี่ย เอาเป็นว่าเกี่ยวแล้วกันนะครับ อิอิ ไว้เจอกันใหม่